Are you ready for this?🧐 เริ่มรอบภาษีใหม่ ปี 2567 รีบวางแผนลดหย่อนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เตรียมพร้อมก่อนใช้เงินคล่องกว่า
ถ้าเรามาลองเช็กดูดีๆ ในทุกๆ ปี คุณอาจเสียเงินภาษีไปมากกว่าที่คิด ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ เพียงคุณมีรายได้เข้าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% ต่อปี อาจดูเหมือนจะเป็นตัวเลขที่น้อย แต่ความจริงแล้วต้องเสียภาษีเกือบหมื่นกันเลยทีเดียว ดังนั้นยิ่งเราวางแผนลดหย่อนภาษีเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมีเงินเหลือเก็บ แถมยังประหยัดไปได้อีกเยอะ
วันนี้พี่กัปตัน ก.ล.ต. กับน้องถั่วต้มขอพามาดู 4 ส่วนหลักๆ ที่จะนำเอามาคำนวณลดหย่อนภาษีได้ 🤩
👨👩👧👦 หักจากค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว
ส่วนแรกที่แทบเป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานของทุกคน สามารถนำมาคำนวณลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของแต่ละปี
💸 ซื้อประกัน กองทุน และการลงทุนต่างๆ
เริ่มด้วยสิทธิประโยชน์จากการซื้อประกัน สามารถนำเบี้ยประกันมาใช้ลดหย่อนได้รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
และกลุ่มที่น่าสนใจคือการลงทุนกับกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF ThaiESG ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้สูงสุดถึง 30% เลยทีเดียว นอกจากนี้ ก็ยังมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับคนทำงานตามที่บริษัทเป็นผู้บริหารจัดการกองทุน (PVD) สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินเดือน และสำหรับสาย Freelance ก็ไม่ต้องน้อยใจไป น้องถั่วต้มแนะนำให้ลงทุนกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังมีกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ เมื่อนำมารวมกับประกันบำนาญ ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
💰 นำเงินไปบริจาค
การบริจาคเงินให้กับภาครัฐ โรงพยาบาล หรือหน่วยงานต่างๆ ทั่วไป เพื่อประโยชน์สาธารณะ พัฒนาสังคม การศึกษา กีฬา สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้น เงินบริจาคบางกรณีลดหย่อนภาษีได้สองเท่าด้วยนะ
🛒 ใช้จ่ายไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
อย่างต้นปีที่ผ่านมาก็จะมีโครงการ Easy e-Receipt 2567 ซึ่งสามารถนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการซื้อสินค้าหรือบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ และอาจมีโครงการอื่นๆ ให้รอติดตามข่าวจากรัฐบาล เนื่องจากอาจมีความเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี รวมทั้งการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ก็สามารถนำมายื่นลดหย่อนภาษีได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
การวางแผนลดหย่อนภาษีที่ดีควรดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ หากทำได้ตั้งแต่ตันปีก็จะทำให้สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างรัดกุม ยิ่งเมื่อหักลบกับค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ แล้วเหลือไม่เกิน 150,000 บาท ในปีนั้นๆ คุณอาจไม่ต้องเสียภาษีสักบาทก็ได้เช่นกันนะ 😉
#กลต #HowToลงทุน #การเงิน #การลงทุน #ผู้ลงทุนหน้าใหม่ #ลดหย่อนภาษี #คำนวณภาษี #วางแผนชำระภาษี